3 กษัตริย์

ผู้สร้างนครเชียงใหม่คือ พ่อขุนเม็งราย แห่งเมืองเชียงราย สร้างเมื่อพ.ศ.1839 เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง การปกครอง อาณาจักร ล้านนา ที่พระองค์ทรง รวบรวมมาได้ หลังรัชสมัย พ่อขุนเม็งราย

กษัตริย์ราชวงศ์เม็งราย ปกครอง นครเชียงใหม่ สืบต่อกันมา หลายพระองค์ ซึ่งหลายยุค หลายสมัย ได้ตกเป็นเมืองขึ้น ของพม่าบ้าง กรุงศรีอยุธยาบ้าง จนถึงรัชสมัย สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช นครเชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้น หรือ ประเทศราช ของกรุงธนบุรี มาจนถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระยากาวิละ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละ ได้ทำพิธี ราชาภิเษกสถาปนา ราชวงศ์กาวิละ หรือ เจ้าเจ็ดตน ปกครองเมืองเชียงใหม่ มีอิสระ ในการบริหาร บ้านเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการปฏิรูปการปกครอง ทรงรวบรวมหัวเมือง ประเทศราชเข้ากับอาณาจักรไทย

ยกเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น มณฑลพายัพ ยกเลิกฐานะ เมืองประเทศราช ของเชียงใหม่ โดยถือว่า เชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาจักร

หลังจากเจ้าอินทรวิชยานนท์ (พระบิดาเจ้าดารารัศมี) ถึงแก่พิราลัย อำนาจการปกครอง เป็นของข้าหลวงประจำ เมืองเชียงใหม่ ซึ่งส่งขึ้นไปจากกรุงเทพฯ โดยที่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ไม่มีหน้าที่ ปกครองบ้านเมือง แต่ยกย่อง ในฐานะประมุขเมืองเชียงใหม่

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงยกเลิกตำแหน่ง เจ้าเมือง ฝ่ายเหนือ ทุกพระองค์โดยถือว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2469 เป็นต้นไป หากตำแหน่ง เจ้าเมืองใดว่างลง จะไม่โปรดเกล้าฯแต่งตั้งขึ้นอีก ซึ่ง เจ้าแก้วนวรัฐ เป็นเจ้าเมืององค์สุดท้าย ของเมืองเชียงใหม่ เจ้าแก้วนวรัฐ ถึง แก่พิราลัย เมื่อพ.ศ.2482

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อพ.ศ.2475 ระบบมณฑล ถูกยกเลิก เมืองเชียงใหม่ ก็กลายมาเป็น จังหวัดเชียงใหม่ นับแต่นั้นมา