นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
เชื่อกันว่า บรรพบุรุษของชาวอะบอริจิน อพยพ มาจาก อินโดนีเซีย มาตั้งถิ่นฐาน ที่ทวีปออสเตรเลีย เมื่อห้าพัน กว่าปีที่ผ่านมา ชาวอะบอริจิน อาศัยอยู่รวมกันเป็น กลุ่มครอบครัว ขยาย คือ มีบรรพบุรุษร่วมกัน และ มีขนบประเพณี ที่เชื่อมโยงกัน ระหว่างคน และ ดินแดนที่อาศัย
ลักษณะการดำเนินชีวิตและความเชื่อ ของชาวอะบอริจิน
มีความเชื่อถือในเรื่อง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ชาวอะบอริจิน เชื่อว่า เป็นสถานที่ ที่วิญญาณจะเดินทาง กลับไปอยู่หลังจาก ตายไปแล้ว ซึ่งลูกหลาน หรือ สมาชิกในคนในครอบครัว ที่ยังมี ชีวิตอยู่ ก็จะประกอบ พิธีกรรม แสดงความเคารพ
เพื่อเป็นเกียรติแก่วิญญาณบรรพบุรุษ มีความเชื่อว่า วิญญาณ ของบรรพบุรุษ จะคอยคุ้มครอง ปกป้องรักษา เผ่าของตนสืบไป ไม่ก่อให้เกิด ภัยธรรมชาติ หรือโรคภัยที่ลึกลับ ชาวอะบอริจิน มีหลากหลายเผ่า บ้างก็ ตั้งถิ่นฐานอยู่ เป็นหลักแหล่ง บ้างก็ ดำรงชีวิตตล้ายกลุ่มชนเร่ร่อน
บทบาทของฝ่ายชาย คือ การเป็นนักล่า และ พิทักษ์รักษากฎหมาย ของฝ่ายชาย ส่วนฝ่ายหญิงจะคอยดูแล เลี้ยงดูเด็ก หุงหาอาหาร ซึ่งฝ่ายหญิงก็จะมีกฎ และ พิธีกรรมเฉพาะของตน เช่นกัน ชาวอะบอริจินรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ พฤติกรรมของสัตว์ และ ฤดูกาล ของพืชชนิดต่างๆ ไม่ล่าสัตว์ หรือ เก็บเกี่ยวพืชผล จนถึงขนาด ที่จะนำ ไปสู่ การสูญพันธุ์
"นับได้ว่าชาวอะบอริจิน เป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติโดยแท้ ชาวอะบอริจินยุคแรกมีการค้าขาย แลกเปลี่ยน สินค้า เช่นเดียวกัน บูมเมอแรง และดินเหลือง นับเป็นสินค้า ที่สำคัญ ก้อนหินหรือ เปลือกหอยที่หายาก และมีความสำคัญ ทางพิธีกรรม ก็เป็น อีกอย่างที่มีการ แลกเปลี่ยนกัน"
เมื่อประมาณ 200 ปี มาแล้ว ที่คนขาว เข้ามาตั้งรกราก ที่อ่าวซิดนีย์ เป็นครั้งแรก มีชาวอะบอริจิน อาศัยอยู่ ในออสเตรเลีย กว่า 300,000 คน และ มีภาษาพูด กว่า 250 ภาษา ซึ่งบางภาษา แตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิง เฉพาะในเกาะทัสมาเนีย มีภาษาต่างกันถึง 8 ภาษา ขณะที่เผ่า ที่เคยอาศัย อยู่สองฟาก อ่าวซิดนีย์ ก็ใช้ภาษา ที่แตกต่างกัน สื่อสารไม่เป็นที่เข้าใจ ซึ่งกันและกัน จาก สภาพ สังคม เช่นนี้ ทำให้การประสานงาน เพื่อตอบโต้ ลัทธิจักรวรรดินิยม ของชาติตะวันตก ย่อมเป็นไปได้ยาก
ฉะนั้น ชาวยุโรป ที่เดินทาง มาถึง จึงขนานนาม ดินแดนแห่งนี้ว่า “Terra Nullius” หมายถึง ดินแดนที่ไร้ผู้คน ไม่ใยดี กับ การอาศัยอยู่ ของชาวอะบิริจิน แม้แต่น้อย มองว่าชาวอะบอริจิน ไม่มีระบบ การปกครอง ที่เด่นชัด ไม่มีระบบ ตลาด ไม่มีการ ตั้งถิ่นฐานถาวร และ ไม่มีหลักฐาน แสดงความ เป็น เจ้าของที่ดิน ดังนั้น เมื่อฟิลิปส์ ผู้สำเร็จราชการ แทน กษัตริย์ อังกฤษ เชิญ ธงชาติอังกฤษ ขึ้นสู่ยอดเสา ที่อ่าวซิดนีย์ เมื่อปี ค.ศ.1788 กฎหมาย ของอังกฤษ ก็ได้กลายมา เป็นกฎหมาย ที่ใข้ใน การปกครอง ชาวอะบอริจิน ทั่วทวีปออสเครเลีย
และ นับแต่นั้น ที่ดินในออสเตรเลีย ก็กลายเป็น ทรัพย์สิน ของ ราชวงศ์อังกฤษ ชาวอะบอริจิน กลายเป็นผู้ ถูกขับไล่ เนื่องจากไม่มี เอกสารสิทธิเหนือดินแดน ที่ตนอาศัยอยู่ บ้างถูกใช้กำลังขับไล่ บ้างเสียชีวิต ด้วยโรคร้าย บ้างสมัครใจ ทิ้งถิ่นฐานของตน เดินทาง ออกไป สู่รอบนอก มีหลายคน ที่ลุกฮือ ต่อต้าน การเข้ามา ของพวกผิวขาว
อาทิเช่น Pemulwy, Yagan, Dundalli, Pigeon และ Nemaruk แม้ว่าการตั้งถิ่นฐาน ในบางพื้นที่ จะถูกขับไล่ แต่ผลของการต่อต้าน เหล่านั้น ก็เป็นได้ เพียงการยืดระยะเวลาออกไปเท่านั้น
ช่วงทศวรรษที่ 1900 ได้ที่การผ่าน กฎหมาย เพื่อการแยกและ ปกป้อง ชาวอะบอริจิน ในทุกรัฐ กฎหมายดังกล่าว เน้นที่ การจำกัดสิทธิ ในการครอบครองที่ดิน และรับจ้างงาน ของ ชาวอะบอริจิน
กฎหมาย Aboriginals Ordinance ที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ.1918 ถึงขนาดให้สิทธิรัฐในการแยกลูก จากแม่ ชาวอะบอริจิน หากมีข้อ สงสัยว่า พ่อของเด็กไม่ใช่ชาวอะบอริจิน ในกรณีเช่นนี้ ผู้ปกครอง จะไม่มีสิทธิ เหนือลูกของตน เด็กจะถูกส่งไป อยู่สถานเลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระบวนการ เปลี่ยนแปลง ทางสังคม เป็นไปอย่างรวดเร็ว มากขึ้น การดูดกลืน ได้กลายมาเป็น นโยบายหลัก ของรัฐบาล สิทธิของ ชาวอะบอริจิน ก็ยิ่งถูกริดรอน มากขึ้น รัฐบาล เข้ามาควบคุม ในทุกๆด้าน ในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการ วิพากษ์วิจารณ์ นโยบาย ดูดกลืนเป็นอย่างมาก ชาวออสเตรเลีย ผิวขาว จำนวนมาก เริ่มตระหนัก ถึงความไม่ เท่าเทียมกัน ที่เลือกปฏิบัติ ต่อชาวอะบอริจิน ในปี ค.ศ.1967
ชาวออสเตรเลีย ที่ไม่ใช่ชาวอะบอริจิน ได้ร่วมกัน ลงคะแนน สนับสนุนให้มี การให้ สถานภาพ ความเป็นพลเมือง แก่ ชาว อะบอริจิน และ คนพื้นเมือง ของหมู่เกาะในช่องแคบ Torres และ ให้อำนาจแก่รัฐบาล ของเครือจักรภพ ในการ ออกกฎหมาย ดังกล่าว ในทุกรัฐ โดยรัฐ จะต้องให้บริการแก่ ชาวอะบอริจิน เช่น เดียวกับ พลเมืองอื่นๆ ทุกประการ ในปี ค.ศ.1972 นโยบายดูดกลืน ถูกทดแทนด้วย นโยบายของรัฐที่เปิดโอกาสเป็นครั้งแรก ให้ชาว อะบอริจิน มีส่วนร่วม ในการตัดสินใจ ในปี ค.ศ.1992 ศาลสูง ได้ออกประกาศชื่อ Mabo Ruling ให้การรับรอง ว่า ชาวอะบอริจิน มีสิทธิที่จะอ้างความเป็นเจ้าของเหนือดินแดน
ที่อยู่ภายใต้การครอบครอง ของราชวงศ์อังกฤษ มาโดยต่อเนื่อง ต่อมาในปี ค.ศ.1993 รัฐบาลสาธารณรัฐ ได้นำประกาศดังกล่าว ปฏิบัติโดยการ ออกกฎหมาย Native Title ภายใต้การยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นจุดเริ่มต้น ของการต่อรอง เหนือดินแดน ระหว่างชาวอะบอริจิน กับกลุ่มอื่น อย่างยุติธรรม เป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย.