เจ้าถิ่นออสเตรเลีย
เป็นมนต์ขลัง ที่ทำให้ผู้รักธรรมชาติ หลงใหล ไม่เสื่อมคลาย หลาย คนเคย เดินทางมาเยือนนับสิบครั้งอะไร บนยอด ภูกระดึง ที่ทำให้ พวกเขาเหล่านั้น หลงใหล จนต้องย้อน กลับมาครั้งแล้ว.. ครั้งเล่า นักเขียน นักกวี ศิลปิน นักแต่งเพลง และ ใครต่อใครอีกมากมายที่ได้ขึ้น ไปสัมผัสดื่มด่ำความงาม และ มนต์เสน่ห์ของภูกระดึง
นำไป เป็น แรงบันดาลใจ กลั่นกรอง มาเป็น งานเขียน บทกวี บทเพลง อันซาบซึ้ง ตรึงใจ มากมาย บทเพลงแห่ง ความงดงาม จะเริ่มขึ้น.. แต่เช้าตรู่ ตั้งแต่ ตะวัน ยังไม่พ้น ขอบฟ้า นักท่องเที่ยว จะตื่นกัน ตั้งแต่ ตีสี่ตีห้า เดินมุ่งหน้าราว 2 กิโลเมตร สู่ริมผา ด้านตะวันออก... ผานกแอ่น.. ผาหินยอดฮิต ที่เป็น จุดชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่สวยที่สุด
เช้าตรู่กลางฤดุหนาว ที่ผานกแอ่น
จุดชมวิวยามเช้าที่สวยงาม ความงดงาม ของแสงสีแดง ขณะเริ่ม จับขอบฟ้า จะทำให้ทุกคน ยิ้ม มีความสุข ลืมความ เหน็บหนาว และ ความง่วงงุน หากเป็น หน้าร้อนฟ้าโปร่ง จะมองเห็น ที่ราบ กว้างใหญ่ เบื้องล่าง มองเห็นทิวเขา อยู่ลิบๆ และ หากเป็นเช้าของ ปลายฝน ต้นหนาว ใต้ผานกแอ่น จะถูกปกคลุมด้วย ทะเลหมอก อันหนาแน่น ราวกับ ผืนทะเลสีขาว..
นวลตา ไม่นาน ตะวัน ดวงกลมโต จะโผล่พ้น ทะเลหมอกขึ้นมา ทักทายเหล่านักเดินทาง พื้นที่ราบ บนยอดภูกระดึง มีรูปร่างคล้ายกับใบบอน หรือ รูปหัวใจ โดยรอบ ขอบภูจะเป็น ผาชัน และ พื้นที่ จะลุ่มต่ำลง ไปยังพื้นที่ ป่าดงดิบ ด้านล่างตามริมผาหิน มีเส้นทางเดินเท้า สามารถเดิน เลาะไปตามทาง
มีจุดชมวิวมากมายเรียงรายกันอยู่ เริ่มจาก ผานกแอ่น ผาหมากดูก ผาจำศีล ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง และ ผาอมตะผาสุดท้ายคือ ผาหล่มสัก
ผาต่างๆล้วนเป็นแนวผาหิน ที่มี ความงดงามทั้งสิ้น มีลักษณะ เว้าแหว่ง เป็นรูปทรงที่งดงาม มีด้นสนภูเขา ที่ลำต้น อ่อนช้อย กิ่งก้าน คดโค้ง ไปมา ราวกับ บอนไซ บางต้นมีกิ่งก้าน ยื่นเลย หน้าผา ออกไป อย่างไม่ หวั่นเกรง ต่อแรงลม
ผาเหยียบเมฆ ที่มักจะมีเมฆหมอกลอยอยู่เบื้องล่าง เมื่อไปยืนจึงเสมือน จะเหยียบลง ไปบนเมฆได้เลย ในบรรดาผาชมวิว ทั้งหมด บนยอดภูกระดึง คงจะไม่มี ผาใดงดงาม ไปกว่า ผาหล่มสัก
ผาหล่มสัก ผาที่งดงามเป็นอมตะมาทุกยุคทุกสมัย เป็นจุดชมตะวันลับขอบฟ้าที่สวยงาม เป็นผาหินแผ่นมหึมา ยื่นออกไป ใน ท้องฟ้า มีต้นสนภูเขาขึ้นเคียงข้าง แผ่กิ่งก้านประกอบฉากอย่างงดงาม นักท่องเที่ยว นิยมมาถ่ายภาพ บนผาหล่มสักกลับไป เป็นที่ระลึก ยิ่งถ้าได้นั่ง ทำท่าซึ้งในบรรยากาศ หรือคิดถึงใครบางคนด้วยแล้ว เรียกว่า หากมา ภูกระดึงแล้ว ไม่ได้ถ่ายภาพบน ผาหล่มสัก ก็เหมือน ยังมา ไม่ถึง ภูกระดึง นอกจาก จุดชมวิวแล้ว น้ำตกบนภูกระดึง เป็นอีกหนึ่งความงดงาม ยิ่งใน
ช่วงปลายเดือน ตุลาคมหรือ ช่วงปลายฤดูฝน น้ำตกบน ภูกระดึงจะงดงาม ด้วยสายน้ำที่ไหลเต็มผาน้ำตก นักท่องเที่ยว มัก เริ่มต้น จาก น้ำตก วังกวาง เป็นน้ำตกที่อยู่ใกล้ บริเวณที่พัก มากที่สุด น้ำตกวังกวางเป็น น้ำตก ขนาด เล็ก ชั้นเดียว สูงราว 10 เมตร งดงามด้วย แมกไม้เขียวขจี มีแก่งหินเรียงรายอยู่ตาม ลำธารจากน้ำตกวังกวาง เดินตัด ทุ่งหญ้า และป่าสน ที่มีทั้งสนสองใบ และ สนสามใบ ไม่นานนัก ก็จะเข้า บริเวณ ป่าดิบ
สภาพพื้นที่จะเปลี่ยนไป เป็นเนินเขา สลับป่าดิบ และลานหินทราย เข้าสู่ น้ำตกเพ็ญพบใหม่ เป็นน้ำตกที่กว้างใหญ่ สวยงาม ผาน้ำตก สูงราว 15 เมตร บริเวณน้ำตกมีลานหินกว้าง ให้นั่งชม ความงาม ของน้ำตกได้เป็นอย่างดี เดินตามธารน้ำไป จะพบน้ำตกที่งดงาม อีก 2 แห่งคือ น้ำตกโผนพบ และ น้ำตกเพ็ญพบ ห้อมล้อมด้วยธรรมชาติ ของผืนป่า ตามริมธารร่มรื่น ด้วยใบของต้นเมเปื้ล
หากเป็นช่วงฤดูหนาวใบเมเปื้ลที่เขียวขจี จะเปลี่ยนเป็นสีแดง สดใส สวยงาม ไปทั้งผืนป่า ก่อนจะร่วงหล่นสู่สายน้ำ เบื้องล่าง หรือ หล่นลงบนลานหิน แต่งแต้มสีสันให้ผืนป่าบทเพลงใบไม้ร่วง บนภูกระดึง เริ่มราวต้นเดือนธันวาคม ประมาณสองสัปดาห์ ก็จะร่วงหล่น หมดต้น จากน้ำตกเพ็ญพบและน้ำตกโผน พบ มีทางเดินเข้าสู่ป่าดงดิบลึก เข้าไปยัง
น้ำตกผาน้ำผ่า ที่สูงราว 80 เมตร เป็นน้ำตกที่สูงใหญ่ที่สุด ใน บรรดาน้ำตกบนภูกระดึง แต่การเดินทางเข้าสู่น้ำตกผาน้ำผ่า ควรจะมีเจ้าหน้าที่นำทาง เพื่อป้องกันการ พลัดหลงจากกลุ่มน้ำตกบริเวณนี้ สามารถเดิน วกกลับเป็นวงรอบผ่าน น้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกเล็กๆ บริเวณรอบ น้ำตกเป็น ดงกุหลาบป่าสีแดง ที่ออกดอก ผลิบานใน เดือนกุมภาพันธ์ไป จนถึง ต้นฤดูร้อน ในยามนั้น ผืนป่า ทั่วทั้ง บริเวณ จะงดงามไปด้วย สีสันของ กลีบกุหลาบ
จากน้ำตกถ้ำใหญ่กลับมา ทางที่ทำการ อุทยานฯ จะผ่านน้ำตกธารสวรรค์ น้ำตก เล็กๆ ที่มีต้นกุหลาบป่า สีแดงมากมาย ขึ้นอยู่ริมน้ำตก นอกจากเส้นทาง สาย น้ำตก ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหนึ่ง เส้น ทางคือ จากที่ทำการฯผ่านมาตาม ทุ่งสนดอนมน เป็นบริเวณทุ่งสน ที่เรียงราย อย่างเป็นระเบียบ ลำต้นตรง ขึ้นเรียงราย เป็นแนวงดงามมาก จากลาน สนดอนมน จะมีทางนำไปยัง น้ำตก พระองค์ เป็นน้ำตกเล็กๆ ริมทาง ก่อนที่จะ เข้าสู่ ลานสนดอนยาว เป็นลานสน กว้างใหญ่ที่งดงามอีกแห่ง
พ้นจาก ลานสนดอนยาว จะพบกับ น้ำตกถ้ำสอเหนือ และ น้ำตกถ้ำสอใต้ ที่อยู่ใกล้ๆกัน บริเวณน้ำตกทั้งสองแห่ง มีสภาพเป็นป่าดงดิบ มีต้นเมเปิ้ล ขึ้นแซมอยู่ ทั่วบริเวณ ยามที่ใบเมเปิ้ล เปลี่ยนเป็นสีแดง ทำให้บริเวณรอบน้ำตก ถ้ำสอทั้งสอง งดงามยิ่งนัก บางช่วงของ เส้นทางเดิน ถูกปูลาดด้วยใบเมเปิ้ล ราวกับพรม งามจนนักท่องเที่ยวแทบจะ ไม่อยากเดินเหยียบย่ำลงไป จากดง กุหลาบป่า เดินเยื้องไปทางตะวันตกราว 3 กิโลเมตร จะพบกับ จุดชมวิวผาหล่มสัก ซึ่งเส้นทาง เดินเที่ยว ชมธรรมชาติเส้นนี้ มักจะสิ้นสุด ลงด้วย การรอชม พระอาทิตย์ตก ที่ผาหล่มสัก จากน้ำตกถ้ำสอใต้ จะเป็นลาน ต้นกุหลาบป่าสีขาว ที่จะผลิบาน รับฤดูร้อน
ราวปลายเดือน กุมภาพันธ์ ต้นเดือน มีนาคม ในยามนั้นท้องทุ่งบริเวณนี้ จะขาวพราวไปด้วย กุหลาบขาวกลีบบาง บานเต็มท้องทุ่งราว หนึ่งเดือน ก็จะ ร่วงโรย น้ำตกขุนพอง เป็นน้ำตก ที่มี ความงามแห่งหนึ่ง แต่อยู่ลึก เข้าไป ในเขตป่าดงดิบต้องใช้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำทางเข้าไปชม ต้องเดินเท้า เป็นระยะ ทางไกล เป็นเส้นทางที่สูงชัน ช่วงเวลา ที่เหมาะสม ที่จะเข้าไปเที่ยวชม น้ำตก ขุนพอง คือ ช่วงต้นเดือนธันวาคม เป็นช่วง ที่ใบเมเปิ้ลเปลี่ยน เป็นสีแดง ที่ริมน้ำตกมีต้นเมเปิ้ล ต้นใหญ่เป็นฉาก ด้านหน้า งดงามยิ่งนัก
ช่างภาพมักเข้าไปเก็บภาพกันเสมอ ใกล้ๆน้ำตกขุนพอง มีน้ำตกเล็กๆ ชื่อ น้ำตกหงษ์ทอง น้ำตกสายทิพย์ จากนั้น สามารถ เดินวกกลับขึ้นมา ชมน้ำตก ผาน้ำผ่าแล้ว.. เดินตัด กลับมา บริเวณ ที่พัก โดยไม่ต้องย้อนกลับทางเดิม นอกจาก ภูมิประเทศอันงดงาม ของภูกระดึง
ระดับความสูงเฉลี่ยราว พันกว่าเมตรจาก ระดับน้ำทะเล ทำให้ภูกระดึงเป็นแหล่ง รวม ของพืชพันธุ์ ไม้ดอก ไม้ใบ อัน งดงามแปลกตา นอกจาก กุหลาบป่า และ ใบเมเปิ้ล ที่สวยงามแล้ว ความงาม
ความน่ารักของดอกหญ้า ดอกว่าน ดอกเอื้อง กล้วยไม้ป่า และ กล้วยไม้ดิน ยังช่วยแต่งแต้ม สีสันให้กับ ภูกระดึง มากยิ่งขึ้น การเดินเท้าเที่ยวชม ธรรมชาติ บนภูกระดึง สามารถทำได้ ด้วยตัวเอง ไม่ยาก เนื่องจาก มี แผนที่ และ ป้ายบอกเส้นทาง พร้อมระยะทาง เป็นจุดๆหรือ ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ให้นำทางเที่ยวชม ก็ได้ วันเวลา อันงดงาม บนภูกระดึง ยังคงหมุน เปลี่ยนไปตาม ฤดูกาล มนต์เสน่ห์ ของภูกระดึง ยังคงทำให้ หลายต่อ หลายคน แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน สืบทอดตำนานกันอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
ข้อมูลการเดินทาง สู่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
ค่าธรรมเนียมการเข้าชม อุทยานแห่งชาติ ภูกระดึง นั้น คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท และเด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติผู้ใหญ่ 200 บาท และเด็ก 100 บาท และ ค่าจ้างลูกหาบ ราคากิโลกรัมละ ไม่เกิน 30 บาท ราคาอาจเปลี่ยนแปลงได้
อุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้รณรงค์ ให้นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรม การท่อง เที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ภูกระดึง คงคุณค่าอย่างยั่งยืน อาทิ การลด ปริมาณขยะ การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การเข้าร่วม โครงการอาสา สมัคร พิทักษ์ภูกระดึง และโครงการ มัดจำ บรรจุภัณฑ์
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีฐาน อำเภดภูกระดึง จังหวัดเลย ได้รับการประกาศ จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2505
การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง กรุงเทพฯ-เลย ลงรถที่ผานกเค้า จากนั้นต่อรถสองแถว เข้าอุทยาน แห่งชาติ ภูกระดึงอีกที
เดินทางโดยรถยนต์
เส้นทางแรก
ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ตรงไปยังสระบุรี จากนั้นตรงเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 21 มุ่งสู่เพชรบูรณ์ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 12 จนถึงหล่มสัก ใช้เส้นทางสายหล่มสัก-ชุมแพ เมื่อผ่านอำเภอคอนสาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่มุ่งสู่จังหวัดเลย จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าทางหลวง 2019 สู่ที่ทำการอุทยาน แห่งชาติภูกระดึง
เส้นทางที่สอง
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ตรงไปขอนแก่น ถึง ขอนแก่นเลี้ยวซ้าย ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 เลยชุมแพ ก่อนถึง อำเภอคอนสาน เลี้ยวขวาเข้า ทางหลวง หมายเลข 201 ที่ไปจังหวัดเลย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้า ทางหลวง 2019 สู่ที่ทำการอุทยาน แห่งชาติภูกระดึง
เส้นทางที่สาม
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านอำเภอ ปากช่อง เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 201 ผ่านสีคิ้ว ผ่านจังหวัด ชัยภูมิ ผ่านอำเภอภูเขียว เลี้ยวซ้ายเข้า ทางหลวง หมายเลข 12 ผ่านอำเภอ ชุมแพ เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 201 ที่ไปจังหวัดเลย จากนั้นเลี้ยวซ้าย เข้าทางหลวง 2019 สู่ที่ทำการอุทยาน แห่งชาติภูกระดึง
ที่พักบนภูกระดึง ก่อนที่ภูกระดึง จะอวดโฉม ให้ยลความงามอีกครั้ง วางแผนการเดินทางและ จองที่พัก เสียแต่เนิ่นๆ ทางอุทยานฯ เปิดให้จองที่พัก ล่วงหน้าได้ 60 วัน จะจองออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ก็ได้ แล้วแต่ไม่ว่ากัน
นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว และพักค้างคืน บนยอดภูกระดึง ควรวางแผนการเดินทาง และ สำรองที่พัก ล่วงหน้า เพราะมีการ กำหนด จำนวนนักท่องเที่ยว เพียงวันละ 2,000 คน/วัน กำหนดสัดส่วนให้มีการจองล่วงหน้า เข้าอุทยานแห่งชาติผ่าน App QueQ ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 60 วัน จำนวน 70% หรือ 1,400 คน นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้จองล่วงหน้าหรือ Walk in สามารถท่องเที่ยวได้ จำนวน 30% หรือ 600 คน ซึ่งจะสามารถยืดหยุ่นได้ในแต่ละแบบถ้าจำนวนคนไม่เกิน 2,000 คน/วัน
เดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูกระดึง วันธรรมดา อนุญาตให้ขึ้น-ลงเขา เวลา 06:00-13:00 น. และ วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ อนุญาตให้ขึ้น-ลงเขา เวลา 05:30 – 13:00 น.)
ติดต่อฝ่ายที่พักและบริการ สำนักอุทยานแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 02-562 0760–62 (ในวันและเวลาราชการ)
สีสันของกาลเวลา บนภูกระดึง สีสันอันสวยหวาน ของภูกระดึง เริ่มแย้มให้เราสัมผัสเมื่อ ...
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เปิดให้ท่องเที่ยว ช่วงตั้งแต่วันที่ 01 ตุลาคม ถึง 31 พฤษภาคม ของทุกปี และ ปิด ช่วงวันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน ของทุกปี
เดือนตุลาคม
มนต์เสน่ห์ในม่านหมอก ฝนยังคง ไม่ลาจากไป แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรค สำหรับผู้ที่ ต้องการ พิชิตภูกระดึง พระอาทิตย์ยามเช้า ที่ผานกแอ่น จะขาวนวล ดังจันทร์เพ็ญ สายหมอกปกคลุม ทั้งกลางวัน และ กลางคืน ทั่วสายธาร ตลอดจนทุกสิ่ง ดูสวยงาม ราวภาพ ในเทพนิยาย เสน่ห์แห่งสายหมอก
เดือนพฤศจิกายน
ปลายฝนต้นหนาว เดือนแห่ง ทะเลหมอก ขาว.. ราวในฝัน
เดือนธันวาคม
อุณหภูมิที่ลดต่ำกับใบเมเปิ้ลสีแดง ยามเช้า กับแม่คะนิ้ง .. ที่ยอดหญ้า และใบไม้ กลายเป็นน้ำแข็ง ส่องแสง แวววาวยาม ต้องแสงอาทิตย์
เดือนมกราคม
ป่าเปลี่ยนสีกับฟ้าสีคราม ความงามของ ใบไม้เปลี่ยนสี เหลือง แดง ทั่วทั้งป่า ก่อนจะร่วงหล่น จน หมดต้น
เดือนกุมภาพันธ์
กุหลาบพันปีสีแดง ในเดือนแห่ง ความรัก มาพร้อมกับ การจากไป ของสายน้ำตกบางสาย แต่ที่บริเวณ น้ำตกสอเหนือ และน้ำตก สอใต้ ความงามของ สายธาร และ กุหลาบพันปี สีแดง รออยู่
เดือนมีนาคม
กุหลาบแดงจากไป กุหลาบป่าสีขาว เข้ามา แทนที่ พร้อมกับ ปุยเมฆขาว
เดือนเมษายน
หลังวันสงกรานต์ สองสามวัน ชาวบ้านจะ ขึ้นมา สรงน้ำพระบนยอดภู ที่ลานพระ พุทธเมตตา เรียกว่า บุญวันเนาว์
เดือนพฤษภาคม
เดือนสุดท้ายก่อนปิด ฤดูกาล ท่องเที่ยว ภูกระดึง ดอกเอื้อง และกล้วยไม้ป่า พากันอวดโฉม ให้ สัมผัส ก่อนที่ จะซ่อนตัวจากผู้คน