ยื่นวีซ่าอเมริกา
จะทำ หนังสือเดินทาง (Passport) ครั้งแรก หรือ ทำ หนังสือเดินทาง เล่มใหม่ ต้องใช้เอกสารอะไร และ ไปทำที่ไหน เรามีคำตอบ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ต กันก่อน หนังสือเดินทาง เป็นเอกสารราชการ ที่บุคคลสัญชาติไทย ใช้ในการเดินทาง ในต่างประเทศ หนังสือเดินทางมี 4 ประเภท คือ
สถานที่ให้บริการทำหนังสือเดินทาง
1. หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) มีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้ เฉพาะ บุคคล
2. หนังสือเดินทางราชการ (ปกน้ำเงินเข้ม) มีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ ในการเดินทางส่วนตัว
3. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป (ปกสีแดงเลือดหมู) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทาง มีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือ 10 ปี
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (ปกเขียว) เช่น หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและ สามเณรที่ได้รับอนุญาต ให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม หรือ หนังสือเดินทาง เพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่ เพื่อเดินทาง ไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทาง ประเภทนี้จะมีอายุ 1 ถึง 2 ปีเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป จะออกให้กับบุคคล สัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งมีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือ 10 ปี และ ไม่สามารถ ต่ออายุได้อีก (เมื่อหมดอายุต้องทำเล่มใหม่) การทำ หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่
01. บุคคลบรรลุนิติภาวะ อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ เอกสารที่ใช้มีดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัว ที่ใช้แทนตาม กฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตร ข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ในกรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล หรือวันเดือนปีเกิด หรือ ข้อมูลอื่นใดที่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ต้องนำ หลักฐานตัวจริงมาแสดงด้วย
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (มีอายุ 5 ปี)
- ค่าธรรมเนียม 1,500 บาท (มีอายุ 10 ปี)
02. ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เอกสารที่ต้องเตรียม มีดังต่อไปนี้
- บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริง ของผู้เยาว์ที่ ยังมีอายุใช้งาน
- สูติบัตรฉบับจริง (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจำตัวประชาชน ฉบับจริงของ บิดาและ มารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครอง (หากบิดาหรือ มารดาเป็นชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทาง ฉบับจริงของบิดา หรือ มารดา แล้วแต่กรณี)
- บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง จะต้องมา แสดงตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย (กรณีบิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่สามารถมาแสดงตัวได้ จะต้องนำ หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครอง ที่รับรองจากเขตหรืออำเภอ ที่ระบุการอนุญาตให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ มาด้วย)
- เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยน นามสกุล เอกสารหลักฐาน การรับรองบุตร หรือ รับบุตรบุญธรรม ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณี ระบุผู้มีอำนาจ ปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
Checklist : อายุ<20 ปี เอกสารที่ต้องนำมาทำพาสปอร์ต (file:pdf)
03. หนังสือเดินทางทั่วไป ที่ออกให้แก่พระภิกษุ สามเณร เอกสารที่ต้องใช้มีดังต่อไปนี้
- หนังสือสุทธิพระภิกษุสามเณร
- ทะเบียนบ้าน/วัด
- ใบตราตั้งสมณศักดิ์ กรณีประสงค์ให้ระบุ สมณศักดิ์ ในหนังสือเดินทาง
- เอกสารแสดง การได้รับอนุญาต ให้เดินทาง ไปต่างประเทศ ตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2537
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
หมายเหตุ กรณีสามเณร เพิ่ม หนังสือรับรองความประพฤติและ ให้ความยินยอมจากเจ้าอาวาส พร้อมประทับตราของวัด และสำเนาหนังสือสุทธิของเจ้าอาวาส
ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทาง
- รับบัตรคิว
- ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน (หรือสูติบัตร กรณีผู้เยาว์ อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ
- วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือ นิ้วชี้ซ้าย และ นิ้วชี้ขวา ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า
- แจ้งความประสงค์ ในการขอรับเล่ม เช่น รับด้วยตัวเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน หรือ ให้จัดส่งทาง ไปรษณีย์
- ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาท หากต้องการให้จัดส่ง ทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จ รับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม
เราจะได้รับหนังสือเดินทางเมื่อไหร่
- กรณีรับด้วยตัวเอง หรือ มอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน จะรับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการ ไม่นับวันที่ ยื่นคำร้อง (เฉพาะผู้ที่ยื่นคำร้อง ที่กรุงเทพฯ)
- กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ EMS จะได้รับ หนังสือเดินทาง ภายใน 2-3 วันทำการ (สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้อง ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล) และ ภายใน 3-5 วันทำการ (สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้อง ที่ต่างจังหวัด)
พาสปอร์ต (Passport) ไม่ใช่ วีซ่า (Visa)
- พาสปอร์ต เป็นเอกสารที่ออกให้โดยรัฐฯ เพื่อแสดงตน ในการเดินทางออกนอกประเทศ
- วีซ่า เป็นเอกสารที่ออกให้โดยประเทศที่คุณเดินทางเข้าไป เพื่อเป็นบัตรผ่านเข้าประเทศนั้น
การถ่ายรูปทำหนังสือเดินทางนั้น จะต้องเห็นองค์ประกอบ ของใบหน้าครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น คิ้ว, ตา, จมูก หรือ แม้กระทั่งคนใส่แว่นตา ก็ต้องใส่แว่นสายตาจริงๆ ไม่ใช่ แว่นกันแดด (ส่วนผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ก็ควรใส่คอนแทคเลนส์ใสเท่านั้น) โดยให้เห็นใบหน้า ทั้ง 80-90% ของใบหน้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบบุคคลเพื่อการเข้าเมือง
คำเตือนการใช้หนังสือเดินทาง
- ห้ามขีด เขียน แก้ไข ประทับตรา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ ต.ม หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทาง
- ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปก หนังสือเดินทางได้รับความเสียหาย
- ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้หนังสือเดินทาง ยับย่น หรือ เปลี่ยนรูปไปจากเดิม เช่น เปียกน้ำจนเสียหาย หรือ รูป เลือนลาง ทำให้ใช้ในการเดินทางไม่ได้
- ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และ บริเวณที่มีคลื่น ความถี่วิทยุ เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ
- หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทาง
- ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น
- หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางเข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดด ส่องถึงได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือ สถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่ มีฝุ่นละออง
การลงทะเบียนทำ Passport ล่วงหน้า โดยคุณสามารถ เลือกวันเวลา และ สาขาที่จะเข้าไปทำพาสปอร์ตได้
เงื่อนไขการลงทะเบียนล่วงหน้า
- การลงทะเบียนล่วงหน้าใช้สำหรับ การยื่นคำร้องขอ หนังสือเดินทางธรรมดาเท่านั้น
- สมัครสมาชิก 1 บัญชี ต่อ 1 ท่าน ต่อ 1 รายการจอง สามารถ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ 1 วันทำการ (ไม่นับวันที่ ทำรายการ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) และทำรายการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วันทำการ
- ท่านต้องมารายงานตัวและแสดง QR Code ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ท่านลงทะเบียน ขอรับบริการ ไว้อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาขอรับบริการ มิฉะนั้นการลงทะเบียน ของท่าน จะถูกยกเลิก
- กรณีที่การลงทะเบียนถูกยกเลิกตามเงื่อนไขข้อที่ 3 ท่านจะไม่สามารถ ใช้บริการลงทะเบียน ล่วงหน้าได้อีกภายใน 30 วัน
- ข้อมูลที่กรอกต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันของตนเอง และ เป็นข้อมูลจริงเท่านั้น
- ท่านต้องเตรียมเอกสาร
• หลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด กรณีที่เอกสาร
• หลักฐานไม่ครบถ้วน ทางกองหนังสือเดินทาง ขอสงวนสิทธิ ในการปฏิเสธการยื่นคำร้อง หนังสือเดินทางของท่าน - เงื่อนไขในการออกหนังสือเดินทาง เป็นไปตามระเบียบ ที่กระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2)
คำเตือน: ควรงดใส่ Contact lens แบบสีๆมา เพราะ จะมีผลต่อการ สแกนม่านตา
การทำหนังสือเดินทางเร่งด่วน
สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางเร่งด่วน ทั้งแบบได้รับเล่ม ในวันทําการถัดไป และ แบบได้รับเล่มใน วันทําการเดียวกัน สามารถทำได้ที่ กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เพียง แห่งเดียวเท่านั้น
ทำพาสปอร์ตเล่มด่วนพิเศษ ได้รับเล่มภายใน วันทำการเดียวกัน
- ยื่นคำร้องและชำระเงินให้เสร็จภายในเวลา 11.00น.
- ขอรับเล่มได้ในวันเดียวกันที่ฝ่ายจ่ายเล่ม กรมการกงสุล.
- ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 3,000 บาท
หมายเหตุ: หนังสือเดินทางเล่มด่วนจำกัด โควต้าการให้บริการ รวมกันวันละไม่เกิน 400 เล่มเท่านั้น
สอบถามเพิ่มเติมที่ Call Center 02 572 8442 (24 ชม.)
การขอบันทึกรายการในหนังสือเดินทาง (Endorsement Passport)
การขอบันทึกรายการในหนังสือเดินทาง (Endorsement) คือ การบันทึกการถือหนังสือเดินทาง เล่มเดิม ลงใน หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน เนื่องจาก
- ในเล่มเดิมมีวีซ่าต่างประเทศที่ยังมีอายุการใช้งาน แต่ตัวเล่ม หนังสือเดินทางหมดอายุแล้ว หรือ
- กรณีเปลี่ยนชื่อนามสกุล หรือคำนำหน้าชื่อ เพื่อยืนยันว่าเป็น บุคคลคนเดียวกัน หรือ
- หนังสือเดินทางเล่มเดิมสูญหาย
เอกสารที่ต้องใช้
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ที่มีวีซ่าต่างประเทศ ที่ยังมีอายุการใช้งาน)
- ใบแจ้งความ - กรณีหนังสือเดินทางเล่มเก่าสูญหาย (ต้องระบุหมายเลขหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่สูญหาย)
- ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า - กรณีเปลี่ยน ชื่อ-นามสกุล หรือคำนำหน้าชื่อ
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน เพิ่ม
- สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจ
- สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 100 บาท ระยะเวลาดำเนินการ 1-2 วันทำการ
การบันทึกรายการในหนังสือเดินทาง สามารถดำเนินการได้ในหนังสือเดินทางประเภทเดียวกันเท่านั้น